ข่าวประชาสัมพันธ์

“เอ๋”ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ร่วมผลักดัน อบจ.สมุทรปราการ ขับเคลื่อนโครงการ “โกงกางเทียม”หรือ ซีออส สุดยอดนวัตกรรมใหม่ เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน-แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งให้กับประชาชนชาวจังหวัดสมุทรปราการ

%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b9%8b%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b9%8c%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%a8%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%ab

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางบ่อ(ต.คลองด่าน)ที่ผ่านมา นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการ ได้ประสานการทำงานเสนอแผนผลักดัน อบจ.สมุทรปราการ ขับเคลื่อนโครงการ“โกงกางเทียม”โดยจากการที่เข้าไปเรียนรู้ศึกษาดูงานมา เสนอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ (อบจ.) ได้นำนวัตกรรมโกงกางเทียม หรือ ซีออส ซึ่งคิดค้นโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาใช้สำหรับฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการเพื่อแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่งและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ เพราะนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยลดความรุนแรงของคลื่นน้ำทะเลที่เกิดจากคลื่นลมและการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาการกัดเซาะแนวชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการ ด้านแนวชายฝั่งทะเลของอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางบ่อ(ต.คลองด่าน)

นายธนวัฒน์ กล่ำพรหมราช รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รักษาราชการแทน ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า เดิมทีโครงการฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยการติดตั้งนวัตกรรมโกงกางเทียม เริ่มต้นจากการผลักดันของ นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะแนวชายฝั่งของคลื่นน้ำทะเลในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และแต่ละปีความรุนแรงก็ทวีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2554-2555 พื้นที่แนวชายฝั่งได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะมากถึง 3.52 กิโลเมตร จากพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลทั้งหมดของจังหวัดสมุทรปราการที่มีประมาณ 55 กิโลเมตร และพื้นที่ชายฝั่งปากแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 2.2 กิโลเมตร

พื้นที่แนวชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะมากที่สุดอยู่ในเขต อำเภอบางบ่อ เทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งหากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนคือ บริเวณวัดขุนสมุทรจีน ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคลื่นทะเลรุนแรงและทุกวันจะเกิดกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ถือเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้แต่ละปีจังหวัดสมุทรปราการจะต้องสุญเสียพื้นดินให้กับภัยพิบัติดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาข้างต้น อบจ.สมุทรปราการ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มุ่งหวังดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ติดตั้งนวัตกรรมต้นโกงกางเทียม จำนวน 28,990 ชุด ปริมาณรากไม้จำนวน 115,960 ชุด ครอบคลุมพื้นที่บริเวณสถานตากอากาศบางปู ระยะทางประมาน 3 กิโลเมตร ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวถือเป็นป่าชายเลนขนาดใหญ่ของจังหวัดสมุทรปราการ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการอย่างมหาศาลอีกด้วย ซึ่ง อบจ.สมุทรปราการ ได้ลงนามทำสัญญากับผู้รับเหมาไปแล้ว เริ่มดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2563 สิ้นสุดโครงการ กันยายน 2564 โดยเริ่มดำเนินการเฟสแรก พื้นที่บริเวณสถานตากอากาศบางปู ระยะทางประมาน 3 กิโลเมตร

นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า“โครงการ”โกงกางเทียม”เป็นการสร้างความสมดุลของธรรมชาติให้เกิดขึ้นเพื่อลดการกัดเซาะแนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อนในการใส่ใจการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญการแก้ปัญหาต้องไม่กระทบต่อสิ่งอื่น ๆ ซึ่งจะต้องเป็นการแก้ไขปัญหาที่มั่นคงยั่งยืน”

การติดตั้งโกงกางเทียมยังสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่แนวชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการให้มีมากขึ้นได้อีกด้วย เนื่องจากการตกตะกอนที่ทับถมกันเป็นเวลานานจนเกิดพื้นดินขึ้นมา ยังเสนอองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ (อบจ.) จะใช้วิธีการปลูกป่ายเลนในจุดที่เกิดพื้นที่ขึ้นมาใหม่ทันที่ จนเกิดเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และเพื่อความต่อเนื่องของการขยายพื้นที่ป่าชายเลน กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จะทำการขยับต้นโกงกางเทียมลึกเข้าไปในทะเล เพื่อต้องการให้เกิดการทับถมของตะกอนและปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนป่าชายเลนเกิดความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดนายชนม์สวัสดิ์ฯ กล่าวในที่สุด

Please follow and like us:
0 Comments

ralanews_db

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram