ข่าวประชาสัมพันธ์

สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย(สพท) เรียกร้อง 7 ข้อ หนึ่งในนั้น จัดหาวัคซีนเร่งรัดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้กับผู้ประกันตนและทุกอาชีพอย่างทั่วถึง

64-05-01

 

วันที่ 1 พฤษภาคม 2564
เวลา 10.30

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่ประเทศไทย (สพท.)และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) พร้อมเครื่อข่ายสมาชิกได้ตั้งโต๊ะแถลงการ เนื่องในโอกาส วันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day) วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นวันที่ระลึกถึงผู้ใช้แรงงานทั้งในระดับสากล รวมทั้งในประเทศไทย ด้าน นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่ประเทศไทย (สพท.)และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) กล่าวว่า
แนวโน้มสถานการณ์ด้านแรงงานปี 2564-2565 ผลกระทบจากแพร่ระบาดเชื้อไงรัสโคโรนา 2019 พบว่า
ในส่วนขององค์กรภาคเอกชนด้านการอุตสาหกรรม มีการปรับกลยุทธ์และการออกแบบการทำงานในรูปแบบใหม่
เพื่อการลดต้นทุน อีกทั้งมีการปรับโครงสร้างองค์กรและออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ส่งผลให้รูปแบบการจ้างงานมีความยืดหยุ่นจากการจ้างงานแบบประจำ มาเป็นรูปแบบการจ้างงานในระยะสั้นประเภทต่าง (ๆ ทั้งการจ้างงานในรูปแบบ
เอาท์ซอร์ส (Outsource) หรือให้รับงานไปทำที่บ้าน และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำแทนแรงงานคนมากขึ้น อาทิ พนักงาน
ขายหน้าร้าน พนักงานบริการลูกค้า พนักงานส่งเอกสารธุรการ พนักงานขนส่ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการประกอบ
ธุรกิจของผู้ประกอบการ ส่งผลต่อความจำเป็นในการที่ใช้แรงงานคน มีแนวโน้มลดลงไปด้วย โดยทางผู้ประกอบการจะใช้
วิธีปรับโครงสร้างองค์กร เลิกจ้างคนงาน หรือจัดทำโครงการสมัครใจออกจากงาน (Early Retirement) ผลจากการลดกำลัง
แรงงานในระบบอุตสาหกรรมรวมทั้งภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ทำให้ตัวเลขของอัตราการว่างงานมากขึ้น ซึ่งสร้าง
ผลกระทบต่อความไม่มั่นคงในการทำงานของผู้ใช้แรงงานที่จะดำรงชีวิตต่อไปในอนาคต
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) เครือข่ายประกันสังคม
คนทำงาน (คปค.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมองค์กรเครือข่ายด้านแรงงานทุกภาคส่วน จึงขอประกาศแถลงการณ์
ข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2564 เพื่อขอให้ทางรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน
ทุกภาคส่วน ขอให้มีนโยบายเพื่อส่งสริมสนับสนุนด้านแรงงานเพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงานของผู้ใช้แรงงาน และ
เสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศใน 6 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1. ขอให้รัฐบาลจัดหาวัชีน และเร่งรัดการฉีดวัคนป้องกันไวรัสโควิด – 19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33
มาตรา 39 และมาตรา 40 ให้เป็นการเฉพาะให้เร็วขึ้นให้ครอบคลุมผู้ประกันตนถ้วนหน้า

ข้อ 2. ขอให้รัฐบาลตรากฎหมาย “จัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง ” ในกรณีที่สถานประกอบกิจการ
ปิดกิจการ หลีกเลี่ยงการเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่งคงในการทำงาน
ข้อ 3. ขอให้รัฐบาลปฏิรูประบบประกันสังคมโดยแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้
3.1) ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 สามารถเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญได้ และปรับฐาน
เงินรับบำนาญชราภาพไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน
3.2) ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับบำนาญชราภาพแล้ว สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39
และให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพ
และค่าทำศพ
ข้อ 4. ขอให้รัฐบาลขยายสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน กรณีหากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพล
ภาพ เสียชีวิต เนื่องจากการทำงานให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทน โดยไม่จำกัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลให้จน
สิ้นสุดการรักษา
ข้อ 5. ขอให้รัฐบาลสนับสนุนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ ในมิติการลดปัจจัย
เสี่ยงต่อสุขภาพของคนงาน (ลดละเลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และการพนัน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคระบาดโควิด)
ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดช่องว่างความเหลี่ยมล้ำในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ข้อ 6. ขอให้รัฐบาล “จัดตั้งธนาคารแรงงาน” เพื่อให้เป็นสถาบันการเงิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และส่งเสริมการ
ออมของผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะ

ข้อ 7. ให้รัฐบาลส่งเสริมอาชีพทางเลือก และประกันรายได้ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ประกิบอาชีพทางเลือก

❇️ทั้งนี้ได้มีการยืนหนังสือผ่านระบบออนไลน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Please follow and like us:
0 Comments

Boss

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram