ข่าวประชาสัมพันธ์

บริษัท สิ่งแวดล้อมสยาม จำกัด (ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม) เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2022-06-21

 

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 08.30 น. ที่อาคารโดมสวาทยานนท์คอมแพล็กซ์ โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ นายชัยพจน์ จรูญพงศ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการท่าเทียบเรือ บริษัท พูลวณิชย์ จำกัด ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยมี นายสุทธิ เลิศบรรจงงาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด กล่าวรายงาน ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่2 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1)เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(2)เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียต่อการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการ และร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(3)-เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อโครงการ มาปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนนำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณา
โดยมี นายธีรวีร์ ปาติปา ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม บริษัท สิ่งแวดล้อมสยาม จำกัด นำเสนอข้อมูลท่าเทียบเรือ และนำเสนอผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยมี กำนันบัญชา มั่นทองคำ กำนันตำบลบางด้วน และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอพระสมุทรเจดีย์ เป็นตัวแทนหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล สถานประกอบการ กลุ่มผู้นำชุมชน องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาชน แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ให้ โดยในอดีตที่ผ่านมาการประกอบกิจการท่าเทียบเรือในจังหวัดสมุทรปราการ ยังไม่มีข้อบังคับเรื่องขนาดของเรือ ที่สามารถขนถ่ายสินค้าผ่านท่าเทียบเรือได้ อีกทั้งเรือมีขนาดที่ไม่ใหญ่มากและไม่ถึง 500 ตันกรอส แต่สถานการณ์ปัจจุบัน เรือขนส่งสินค้ามีขนาดที่ใหญ่เกินกว่า 500 ตันกรอส เนื่องจากการลดต้นทุนของการขนส่งที่จะส่งต่อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ กรมเจ้าท่าซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางน้ำ จึงได้ออกระเบียบว่าด้วยการขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์หรือประเภทการใช้ท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส ให้สามารถใช้ท่าเทียบเรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสได้ พ.ศ.2563
ด้วยเหตุผลข้างต้น ส่งผลให้ท่าเทียบเรือหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงท่าเทียบเรือของบริษัท พูลวณิชย์ จำกัด ถึงแม้จะเปิดดำเนินการมาแล้วก็ตาม จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังกล่าว ถ้าหากมองภาพโดยรวมน่าจะเป็นการดีที่จะทำให้มีการควบคุมและป้องกัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการของท่าเทียบเรือในหลายมิติที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ที่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยมี กลุ่ม อสม.อำเภอพระสมุทรเจดีย์ มาอำนวยความสะดวก ถายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด -19
สรุปประเด็นข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะต่อการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ต่อผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการท่าเทียบเรือบริษัท พูลวณิชย์ จำกัด วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 8.30 – 12.00 น.ณ อาคารโดมสวาทยานนท์คอมแพล็กซ์ โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
1.การศึกษาผลกระทบเรื่องการกัดเซาะหรือจากการขุดลอก จะส่งผลต่อพื้นที่ข้างเคียงหรือไม่แล้วมีการกำหนดมาตรการป้องกันอย่างไร
2.การสรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นในแต่ละครั้งจะนำผลมากำหนดเป็นมาตรการด้วยหรือไม่
3.การกำหนดมาตการด้านการจราจรทางบก โดยเฉพาะในซอยธนากรที่ควรเน้นเรื่องความเร็ว ความปลอดภัย รวมถึงควรติดตั้งป้ายสัญญาณจราจรที่ชัดเจน
4.การลดผลกระทบเรื่องฝุ่นละอองบริเวณนอกโครงการควรกำหนดให้ชัดเจน
5.แผนฉุเฉินที่กำหนดมีความเป็นจริงหรือมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
6.ควรเพิ่มการตรวจวัด Ecoli bacteria ในเรื่องการตรวจวัดคุณภาพน้ำ
7.การกำหนดกิจกรรมมวนชนสัมพันธ์หรือ CSR ควรพิจารณาในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
8.ควรแจ้งแผนการปฏิบัติงานทั้งระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการให้กับผู้นำชุมชนได้รับทราบ
9.การจ้างแรงงานอยากให้พิจารณาบุคคลในพื้นที่เป็นหลัก
10.ควรมีมาตรการป้องกันและแก้ไข รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบประเด็นฝุ่นละอองและแรงสั่งสะเทือนต่อโบราณสถาน (พระสมุทรเจดีย์)

 

 

Please follow and like us:
0 Comments

Boss

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram