ข่าวประชาสัมพันธ์

แถลงข่าวการจัดสืบสานงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อนุรักษ์ประเพณีชาวไทยรามัญ ประจำปี 2566

66-04-08-3

 

รองผู้ว่าสมุทรปราการ เป็นประธานเปิดแถลงข่าวงานสงกรานต์พระประแดงประจำปี2566 ที่จัดขึ้นโดยเทศบาลเมืองพระประแดงร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในวันที่ 21 เม.ย.-23 เม.ย.66นี้ ขอเชิญเที่ยวชมประเพณีชาวมอญปากลัดและขบวนแห่นก-แห่ปลา อันยิ่งใหญ่ตระการตา
เมื่อเวลา 10. 00 น.วันที่ 7 เม.ย.66 ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผวจ.สมุทรปราการ เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2566 โดยมี นางจิระพร วชิรเขื่อนขันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองพระประแดง นายโชติพงศ์ เปล่งวิทยา นายอำเภอพระประแดง และ นายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานฉะเชิงเทรา ร่วมแถลงข่าวการจัดงานดังกล่าว เทศบาลเมืองพระประแดง ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 21 – 23 เมษายน 2566 ซึ่งงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่จัดสืบทอดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ เป็นที่ภาคภูมิใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
รองผวจ.สมุทรปราการ ได้กล่าวว่า สงกรานต์พระประแดง หรือเดิมเรียก สงกรานต์ปากลัด เป็นงานประเพณีที่เก่าแก่ และเป็นหนึ่งในงานเทศกาลมหาสงกรานต์ 4 ภาค ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามโครงการเที่ยวทั่วไทยไปได้ทุกเดือน และส่งเสริมให้เป็นกิจกรรมระดับนานาชาติ “Festival of the World” นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวพระประแดงและชาวสมุทรปราการเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเชิญชวน นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ และประชาชนที่สนใจ มาเที่ยวงานสงกรานต์พระประแดง พร้อมทั้งชมการแต่งกายแบบมอญรามัญ การประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย โดยเฉพาะขบวนแห่สงกรานต์ อันยิ่งใหญ่ตระกานตา การละเล่นพื้นบ้าน(สะบ้ารามัญ) การกวนกาละแม ขนมคู่งานประเพณีสงกรานต์ชาวมอญ
ส่วนนางจิระพร วชิรเขื่อนขันธ์ นายกเทศมนตรีพระประแดง ได้กล่าวว่า งานประเพณีสงกรานต์พระประแดงจะช้ากว่าวันสงกรานต์หนึ่งสัปดาห์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่เป็นเทศกาลสำคัญของชาวไทยเชื้อสายมอญ หรือเรียกว่าชาวไทยรามัญที่อาศัยอยู่ใน “เมืองนครเขื่อนขันธ์” หรือเมืองพระประแดงในปัจจุบัน นานกว่า 200 ปี ในวันก่อนงานจะมีการตระเตรียมเสื้อผ้ารามัญ เตรียมกวนขนมประเพณีกาละแม และทำบุญทำทานสะเดาะเคราะห์ ตามแบบพุทธศาสนิกชนทั่วไป และถวายข้าวสงกรานต์ต่อท้าวมหาสงกรานต์ที่ศาลเพียงตาหน้าบ้านตน “ฮอยสงกรานต์” รดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ที่เคาระนับถือส่งขนมกาละแมให้ญาติพี่น้องในหมู่บ้าน ตอนกลางคืนจะมีการเล่นสะบ้าตามหมู่บ้านเป็นที่สนุกสนาน อย่างไรก็ตาม ในวันสงกรานต์จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย.ในเวลากลางคืนจะมีการประกวดนางสงกรานต์ นางประจำปี นางฟ้า และหนุ่มลอยชาย เพื่อเข้าร่วมขบวนแห่สงกรานต์ปากลัด ปล่อยนก ปล่อยปลา ในวันที่ 23 เม.ย.66
โดยในวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ชมการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย ณ เวทีประกวดหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง วันที่ 21-23 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 20.00 – 24.00 น. ชมการละเล่นสะบ้ารามัญตามหมู่บ้านต่าง ๆ ชมการแสดงทะแยมอญ การแสดงแสงสี ณ อุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า การแสดงดนตรีไทย จากศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองพระประแดง ชมการกวนกาละแม ของดีเมืองพระประแดง
และในวันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. ชมพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ขบวนแห่นางสงกรานต์และขบวนรถบุปผาชาติที่สวยงามตระการตา ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองพระประแดง ชมพิธีปล่อยนก ปล่อยปลา ณ พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐารามตามประเพณีต่อไป

Please follow and like us:
0 Comments

Boss

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram