สังคมคนเป็นข่าว

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานมอบโค-กระบือ ตามโครงการธนาคารโค-กระบือ ประชารัฐร่วมใจเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าแบบบูรณาการ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

04072562-6

วันนี้ (3 กรกฎาคม 2562) ที่ตลาดร้อยร้าน บ้านทุ่งยายชี หมู่ที่13 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานพิธีมอบโค -กระบือ ตามโครงการธนาคารโค-กระบือ ประชารัฐร่วมใจเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าแบบบูรณาการ โดยมีนายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และนายวรพจน์ แววสิงห์งาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวต้อนรับ ร่วมด้วยนายสุวิทย์ คำดี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม


นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ในวันนี้มีการมอบโคเพศเมีย จากโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ จำนวนทั้งสิ้น 94 ตัว ให้เกษตรกรยืมเพื่อการผลิต รายละ 2 ตัว รวมเกษตรกรที่รับมอบโคทั้งสิ้น 47 ราย นำไปเลี้ยงเพื่อการผลิตและต้องปฏิบัติตามสัญญาภายใต้เงื่อนไขของระเบียบธนาคารโค-กระบืออย่างเคร่งครัดในระยะเวลา5 ปี /มอบเวชภัณฑ์ เมล็ดพันธ์พืชอาหารสัตว์แก่เกษตรกรและมอบถังสนามพร้อมอุปกรณ์ผสมเทียมให้กับอาสาผสมเทียมที่ได้รับการฝึกอบรมจนสำเร็จหลักสูตร จากสัตวแพทย์สภา นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน เสร็จแล้วปล่อยพันธุ์ปลาตะเพียนทอง 100,000 ตัว ปลาชะโอน (เนื้ออ่อน) 20,000 ตัว ลูกกบ 4,000 ตัว จากกรมประมงลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำเป็นแหล่งอาหารสำหรับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

 

ในโอกาสเดียวกันนี้ประธานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมนิทรรศการด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ด้านพืชอาหารสัตว์ ด้านการตลาด ด้านการผลิตตามนโยบายกระทรวงการเกษตรฯ ที่มาให้ความรู้แก่เกษตรกรด้วย
สำหรับความเป็นมาของโครงการธนาคารโค-กระบือประชารัฐร่วมใจ เพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าแบบบูรณาการอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา สืบเนื่องจากในระยะเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านมา ปัญหาอันเกิดจากกรณีช้างป่าบุกทำลายกัดกินพืชไร่ และบางครั้งทำร้ายประชาชนบาดเจ็บบางครั้งถึงขั้นเสียชีวิต ในพื้นที่อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอแปลงยาว นับวันจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ด้วยในพื้นที่ของอำเภอดังกล่าวอยุ่ใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนซึ่งเชื่อมพื้นที่ 5 จังหวัด ด้วยกัน ปริมาณช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้นเกิดการขาดแคลนอาหาร เลยออกมาหากินบุกรุกทำลายพืชผลทางเกษตรในพื้นที่3 อำเภอ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาช้างป่าและสร้างขวัญและกำลังใจกับคนในพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หาทางแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม โดยทางด้านปศุสัตว์กำหนดให้มีการส่งเสริมการเลี้ยงโค-กระบือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลุกข้าว ปลุกพืชไร่พืชสวนที่เสี่ยงต่อการบุกของช้างป่า มาเป็นพืชอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงโค-กระบือซึ่งมีตัวอย่างในหลายพื้นที่ที่ช้างป่าและโค-กระบือสามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งแนวทางในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว

และในเบื้องต้นเกษตรกรในพื้นที่ของอำเภอท่าตะเกียบ ได้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงโค-กระบือ จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนและต่อมาก็สมัครเข้าโครงการส่งเสริมการทำเกษตรแบบแปลงผู้เลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ทั้งสิ้น 68 ราย และเริ่มดำเนินกิจกรรมในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่มีการบริหารจัดการ การปรับปรุงพันธุ์ การลดต้นทุนการผลิตมีการวางแผนด้านการตลาด และมีแนวทางที่จะพัฒนาเป็นแหล่งผลิตโคเนื้อคุณภาพและมีโรงฆ่ามาตรฐานในพื้นที่ในด้านการตลาดได้มีการลงนามข้อตกลง(MOU)กับภาคเอกชนในการรับซื้อโคเนื้อที่ผลิตในพื้นที่ซึ่งมีความชัดเจนในเรื่องการตลาดในระดับหนึ่ง จึงเห็นว่าแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้ออย่างจริงจังในพื้นที่อำเภอท่าตะเกียบ จะเป็นแบบอย่างให้หลายพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้นำไปส่งเสริมให้เป้นรุปธรรมในการผลิตโคเนื้อคุณภาพรองรับการขยายตัวของการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ในอนาคตต่อไป..

ผู้สื่อข่าวRALANEWSจังหวัดฉะเชิงเทรา

 

 

Please follow and like us:
0 Comments

mongko

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram