สังคมคนเป็นข่าว

หนุ่มดีกรีปริญญาโททิ้งงานประจำปลูกผักกูดขายเจ้าแรกของอ่างทองจนไม่พอจำหน่าย

03102562-5

วันที่ 3 ต.ค. 62 ที่ ตำบลศาลาแดง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง นาย จิราวัฒน์ (อั๋น) ใจสำราญ เกษตรกรดีกรี ปริญญาโท ได้เปิดเผยว่า การเลี้ยงชีพด้วยอาชีพการเกษตรโดยการปลูก “ผักกูด” และเป็นผักที่ยังไม่มีการปลูกกันในเขตจังหวัดอ่างทอง และสอง “วอลเตอร์เคส” ซึ่งเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะธาตุเหล็ก แคลเซียม ที่สำคัญอีกประการ คือ ผักทั้ง 2 ชนิด นี้สามารถปลูกร่วมกันได้” อั๋น อธิบายถึงแนวคิดของการเลือกชนิดผักทั้ง 2 ชนิดนี้ อั๋นบอกว่า สามารถนำไปปรุงอาหารได้อย่างหลากหลายไม่ว่า จะกินสด หรือนำไปผัด ต้ม แกง หรือทำเป็นสลัด บนพื้นที่ว่างจำนวน 3 งาน สามารถตัดขายส่งให้พ่อค้าได้ทุกวัน โดยราคาจำหน่ายผักกูดอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนวอลเตอร์เคส ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งแต่ละวันไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ซึ่งการปลูกผักกูด ปลูกง่าย ดูแลไม่มาก ใช้เวลาปลูกประมาณ 6 เดือน จะสามารถเริ่มเก็บยอดจำหน่ายได้ โดยหากมีการจัดการดูแลที่ดี จะได้ผักกูดที่ยอดอวบสมบูรณ์ น้ำหนักดี โดยที่เก็บขณะนี้ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะมีประมาณ 20 ยอด แต่ถ้าเป็นยอดเล็ก จะอยู่ที่ประมาณ 40 ยอด ในพื้นที่ 3 งาน จะเก็บสลับกันระหว่างผักกูดและวอลเตอร์เคส โดยอาทิตย์หนึ่ง ผักกูดจะเก็บ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะได้ผลผลิตประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่ออาทิตย์

นาย จิราวัฒน์ ใจสำราญ กล่าวว่าอีกว่า ผมนั้นเรียนจบปริญญาตรีด้านภูมิสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แล้วไปจบโทด้านสิ่งแวดล้อมจากมหิดล จากนั้นก็ออกมาทำงานบริษัทเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะลาออกมาอยู่บ้านเพื่อต้องมาดูแลพ่อกับแม่ มีอายุมาก ก่อนสมัครเข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer (YSF) ของกรมส่งเสริมการเกษตร เขาจึงเดินทางไปยังสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตนปลูกผักกูดแปลงนี้มา 8 เดือนแล้ว นำกล้ามาปลูกได้สัก 6 เดือนก็เริ่มเก็บยอดขายได้ ซึ่งตอนนี้เก็บมา 2 เดือนแล้ว ส่วนเสียงตอบรับดีเพราะผักกูดเป็นผักสุขภาพ ซึ่งผักกูดเป็นผักที่ปลูกง่าย ตายยาก มีคุณภาพ แถมอยู่ทน มีประโยชน์ทางสารอาหารมากมาย เช่นธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม แล้วก็มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีสารอนุมูลอิสระต้านโรคได้หลายชนิด
ด้านนางสาวเรณุดา หอมชะเอม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่าในส่วนนี้จะให้แปลงนี้เป็นจุดเรียนรู้ ของโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer (YSF) ที่มีเครือข่ายทั้งในและนอกจังหวัด ให้มาเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมจะส่งเสริมขยายพืชตัวนี้ให้เกษตรกรที่สนใจ เพราะผักกูด เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติ เพราะผักกูดปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี และตลาดยังเปิดกว้างเพราะเป็นรายเดียวของจังหวัดอ่างทอง
ส่วนผู้ที่สนใจอยากจะปลูกผักกูด สามารถติดต่อได้ที่ “อั๋น-จิราวัฒน์ ใจสำราญ” เลขที่ 98 หมู่ 5 ตำบลศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง โทร. 08-5167-8538

รัฐพล แก้วรัตนศรีโพธิ์ ผู้สื่อข่าวRALANEWS อ่างทอง

Please follow and like us:
0 Comments

mongko

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram