การศึกษา-ศาสนา, ข่าวประชาสัมพันธ์

วัดหัวคู้วราราม ร่วมกับ อบต.ศีรษะจรเข้น้อย และพุทธศาสนิกชนชาวศีรษะจรเข้น้อย ลาดกระบัง และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมแห่ผ้าห่มองค์หลวงพ่อเขียว สุโขพุทโธภควา ประจำปี 2563

63-02-12-4

วัดหัวคู้วราราม ร่วมกับ อบต.ศีรษะจรเข้น้อย และพุทธศาสนิกชนชาวศีรษะจรเข้น้อย ลาดกระบัง และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมแห่ผ้าห่มองค์หลวงพ่อเขียว สุโขพุทโธภควา ประจำปี 2563

เมื่อเวลา 07.30 น.วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 63 นายพยนต์ เอี่ยมสะอาด นายกอบต.ศีรษะจรเข้น้อย นำคณะเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนชาวศีรษะจรเข้น้อย ร่วมขบวนแห่ผ้าห่มองค์หลวงพ่อขียว จากที่ทำการอบต.ไปยังวัดหัวคู้วราราม โดยในขบวนประกอบไปด้วย ขบวนแห่ผ้า ขบวนกลองยาว แตรวง วงโยธวาทิตของโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ ขบวนบาสโลป ขบวนผู้สูงอายุ ขบวนนางรำ และขบวนแฟนซีสีสันต่างๆ
สืบเนื่องจากอบต.ศีรษะจรเข้น้อย ร่วมกับวัดหัวคู้โดยท่านพระปริยัติวงศาจารย์ เจ้าคณะตำบลบางเสาธง – ศีรษะจรเข้ เจ้าอาวาสวัดหัวคู้ และภาครัฐ ภาคเอกชน ได้ร่วมมือร่วมใจในการจัดโครงการประเพณีท้องถิ่นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีในท้องถิ่น ไม่ให้สูญหาย และในตำบลศีรษะจรเข้น้อยมีประเพณีห่มผ้าองค์หลวงพ่อเขียวซึ่งเป็นที่สักการะบูชาของชาวบ้านและจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันมาฆบูชา
ต่อมาเวลา 17.00 น.นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมภริยา เดินทางมาเป็นประธานในพิธีห่มผ้าองค์หลวงพ่อเขียว โดยมีนายกำธร เวหน นายอำเภอบางเสาธง พ.ต.อ.วรวุฒิ ปานขาว ผกก.สภ.บางเสาธง นายวิชัย จันทร์จำรูญ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ นางเตือนใจ แก้วภู่ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบางเสาธง พร้อมด้วยรองนายกอบต.คณะกำนันผู้ใหญ่บ้าน และพุทธศาสนิกชนให้การต้อนรับ

ประวัติหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา ตามประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งทำศึกสงครามกับพม่าสามารถตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกมาทางตะวันออกผ่านมาทางทุ่งสีกันและมาถึงหมู่บ้านหัวคู้ ทรงเล็งเห็นว่าที่แห่งนี้เป็นทำเลดีเหมาะที่จะทำค่ายพักทัพ เพราะมีคลองล้อมรอบทุกทิศยากที่ข้าศึกจะบุกเข้ามาได้ จึงได้สร้างค่ายพักและสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมไพร่พล ก่อนจะยกทัพไปยังเมืองจันทบุรี ก่อนไปพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าที่แห่งนี้ว่ามีประโยชน์เหมาะแก่การสร้างวัดพระองค์ทรงได้ตั้งจิตอธิฐานว่าภายหน้าขอให้สถานที่แห่งนี้เป็นวัด และได้มอบพระพุทธรูปโลหะไว้ให้เป็นที่ระลึก 1 องค์ ต่อมาชาวบ้านหัวคู้เห็นว่าพระองค์ดังกล่าวมีค่ายิ่งนักกลัวจะโดนขโมย จึงได้ร่วมกันสร้างองคืพระปูนปั้นครอบองค์พระโลหะไว้และเรียกชื่อพระองค์นี้ว่าหลวงพ่อเขียวตามชื่อทหารเอกของพระเจ้าตาก และได้มีการบุรณะปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

Please follow and like us:
0 Comments

Boss

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram