ข่าวประชาสัมพันธ์

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นำคณะสื่อมวลชน จังหวัดสมุทรปราการ เยี่ยมชมอาคารเทียบเครื่องบินรองรับหลังที่ 1หรือ อาคาร SAT-1 เพีมขีดความสามารถ รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคนต่อปี

65-07-14

เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวต้อนรับคณะสื่อมวลชน จังหวัดสมุทรปราการ ว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย พร้อมทำหน้าที่เป็นประตูสู่ประเทศไทย ต้อนรับและสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนจากทั่วโลกรวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบินของประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย ให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ที่มาของ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคาร SAT-1ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการในปี 2549 ประตูบานหลักของประเทศไทยแห่งนี้ ได้ต้อนรับผู้มาเยือนจากทั่วโลก ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกินขีดความสามารถเดิม ที่ได้รับการออกแบบไว้ในระยะแรก ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 จึงเกิดขึ้น จากความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรับรองผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี เพื่อลดความแออัดของผู้โดยสารและปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคาร SAT-1 เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 งานสถาปัตยกรรมของตัวอาคารออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสารหลัก ซึ่งใช้เป็นระบบ Modular สามารถก่อสร้างได้รวดเร็วและใช้วัสดุที่ดูแลรักษาได้ง่ายอีกทั้งยังคำนึงถึงการออกแบบอาคารที่ยั่งยืน เป็นอาคารประหยัดพลังงานเน้นการใช้แสงจากธรรมชาติ ติดตั้งอุปกรณ์กันความร้อน ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย มีหลุดจอดอากาศยานแบบประชิดอาคารทั้งหมด 28 หลุดจอด สามารถจอดอากาศยาน Code F เช่น A380 และ B747-8 ได้ 8 หลุดจอด และจอดอากาศยาน Code E เช่น A340 และ B747 ได้ 20 หลุดจอด
อาคารเทียบเครื่องบินรองรับหลังที่ 1หรือ อาคาร SAT-1เป็นหนึ่งในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 งานสถาปัตยกรรมของตัวอาคารออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสาร เพื่อเพีมขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร จาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี อาคาร SAT-1มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 216,000 ตร.เมตร ตัวอาคารสูง 4 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น
ชั้น B2 เป็นพื้นที่สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ Automated People Mover Station หรือ APM Station
ชั้น B1 เป็นพื้นที่ห้องงานระบบต่าง ๆ
ชั้น G เป็นพื้นที่สำหรับระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ และพื้นที่สำนักงาน
ชั้น 2 เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้ารวมทั้งพื้นที่สำหรับผู้โดยสารเชื่อมต่อเที่ยวบิน
ชั้น 3 เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาออก มีพื้นที่พักคอยสำหรับผู้โดยสารรอขึ้นเครื่องเป็นแบบ Open Gate และมีพื้นที่ร้านค้าตลอดแนวทางเดิน
ชั้น 4 เป็นพื้นที่สำหรับร้านอาหารและเครื่องดื่ม


อาคาร SAT-1 เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารหลัก ด้วยอุโมงค์ใต้ดินระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในอุโมงค์ใต้ดินประกอบไปด้วยระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ หรือรถไฟฟ้า APM จำนวน 4 ช่อง ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า จำนวน 2 ช่อง และถนนให้บริการเขตการบิน จำนวน 2 ช่อง เป็นรถไฟฟ้าระบบล้อยาง ใช้เวลาในการเดินทาง 3.30 นาทีรองรับผู้โดยสูงสุด 179 คน ต่อขบวน การตกแต่งภายในอาคาร SAT-1มีการออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสารหลัก และได้มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้กลมกลืนกับโครงสร้างอาคารที่ทันสมัย โดยมีผลงานตกแต่งชิ้นเอกเป็นช้างคชสาร ตั้งอยู่บนกลางห้องโถงชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาออก ส่วนปลายอาคารทั้ง 2 ด้าน คือทิศตะวันออก กับทิศตะวันตกติดตั้งสุวรรณบุษบก และรัตนบุษบก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธปฎิมาปางมารวิชัย และปางเปิดโลก โดยถอดแบบจากวัดผาซ่อนแก้ว
นอกจากนี้ ภายในชั้น 3 ของอาคารได้รับการออกแบบให้เป็นสวน ตกแต่งด้วยสัตว์หิมพานต์ตามคติความเชื่อไทยโบราณ อาทิ กินนร , กินรี, เหมราชและหงส์สา ส่วนชั้น 2 เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้า ได้รับการออกแบบเป็นสวนสัญจรผ่าน จัดแสดงงานภูมิทัศน์ผสมผสานกับศิลปธรรมของไทย เช่น หุ่นละครเล็ก , หนังใหญ่ , หัวโขน ,ว่าวไทย เป็นต้น
อีกหนึ่งงานออกแบบที่โดดเด่นภายในอาคาร SAT-1 คือห้องน้ำภายในอาคารทึ่ได้นำเอกลักษณ์และลักษณะเด่นของแต่ละภาคของประเทศไทยรวมถึงประเพณีวัฒนธรรมของไทยมาใช้ออกแบบรูปลักษณ์ภายใน ขณะที่สุขภัณฑ์ทั้งหมดได้ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการประหยัดน้ำ


ปัจจุบัน อาคาร SAT-1 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ โดยงานลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องรองหลังที่ 1 ทางขับเชื่อและถนนเชื่อมต่อ รวมถึงงานภายในอาคาร และงานระบบสาธารณูปโภคดำเนินการเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ยังคงเหลืองานระบบรถไฟฟ้า APM และงานระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระขาออกที่อยู่ระหว่างดำเนินการและทดสอบระบบ นอกจากนี้ ทสภ.ยังอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม การเปิดให้บริการ (Operation Readiness and Airport Transfer : ORAT) เพื่อรองรับผู้โดยสารที่คาดว่าจะกลับมาหนาแน่นอีกครั้งและเพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการเปิดใช้งานภายในปี 2566
นอกจาก อาคาร SAT-1 แล้วโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ยังประกอบไปด้วยอาคารสำนักงานสายการบิน มีความสูง 4 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 35,000 ตร.ม. เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการแก่สายการบิน อาคารจอดรถด้านทิศตะวันออกมีความสูง 5 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารสำนักงานสามารถจอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,000 คัน ระบบสายพานลำเอียงกระเป๋าขาออก มีความสามารถในการขนส่งกระเป๋าสัมภาระสูงสุดจากอาคารผู้โดยสารหลักถึง อาคาร SAT-1 จำนวน 180 ใบต่อนาที ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งงานระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย อาคารสถานีไฟฟ้าหลักหลังที่2 อาคารสูบน้ำประปาหลักหลังที่ 2 และถังเก็บน้ำส่วนขยายอาคารผู้โดยสารทิศตะวันออก หรือ East Expansion พื้นที่ประมาณ 60,000 ตร.ม. พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารหลักในปัจจุบัน
AOT พร้อมให้บริการอาคาร SAT-1 ควบคู่ไปกับอาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal Building) อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับรูปแบบการเดินทางวิถีใหม่ (Transport New Normal) โดยให้ความสำคัญในเรื่องระดับการให้บริการ (Level of Service) เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย ปลอดภัยประทับใจทุกครั้งเมื่อใช้บริการสนามบินของ AOT และเมื่ออาคาร SAT-1 เปิดให้บริการเต็มรูปแบบจะเกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ทั้งผู้ใช้บริการภาคประชาชน และภาคอุตสาหกรรมการบิน โดยนอกจากจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้วยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อมุ่งสู่การเป็นสนามบินชั้นนำระดับโลกอย่างยั่งยืน

Please follow and like us:
0 Comments

Boss

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram