ข่าวประชาสัมพันธ์

“พิธา ปักธงสู้” มั่นใจชาวสมุทรปราการอยากเปลี่ยนแปลงเปิดตัวผู้สมัครครบ 8 เขตลุยเลือกตั้ง เผยโพลอันดับ 3 แค่จุดเริ่มต้น

65-09-25-3

 

“พิธา มั่นใจชาวสมุทรปราการอยากเปลี่ยนแปลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร 8 เขตลุยศึกเลือกตั้ง ชู 5 นโยบายผลักดันพัฒนาสมุทรปราการ และดัน พิธา เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป อย่างกึงก้อง”

🟠เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 25 กย 65 ณ.สนามฟุตบอลสองสิงห์อารีน่า ซ.ด่านสำโรง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นำว่าที่ผู้สมัครทั้ง 8 เขตจังหวัดสมุทรปราการ เปิดตัวลุยศึกเลือกตั้งครั้งหน้า โดยดึงคนรุ่นใหม่แต่ละพื้นที่มาร่วมผลักดันสมุทรปราการ ต้องก้าวไกลมากกว่านี้ เพราะสูญเสียโอกาศมานานทั้งๆ ที่จังหวัดสมุทรปราการ มีศักยภาพมากที่สามารถเป็นเมืองสำคัญเพราะเป็นประตูหน้าด่านต้อนรับชาวต่างชาติ มาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตในทางน้ำและปัจจุบันทางอากาศ ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลถึงแม้จะมี ส.ส.หนึ่งเดียวในพื้นที่สมุทรปราการ คือนายวุฒินันท์ บุญชู ส.ส.สมุทรปราการ เขต 4 แต่ผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดในด้านการช่วยเหลือชาวสมุทรปราการทุกๆด้านทั้งด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางเสียง อากาศ และทางน้ำ การติดตามการเยียวยาเหตุระเบิดหมิงตี้ กิ่งแก้ว 21 , รวมถึงการต่อต้านแนวท่อก๊าซพลาดผ่านชุมชนกว่า 60 กิโลเมตรในเขตสมุทรปราการ และ บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และตรวจสอบ EIA คอนโดที่ยังไม่ผ่านการอนุญาติในการสร้าง รวมถึงปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่บางแก้วสมุทรปราการ
🟠โดยว่าที่ผู้สมัครทั้ง 8 คน มี น.ส.พนิดา มงคลสวัสดิ์ , นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ , นายพิชัย แจ้งจรรยาวงค์ , นายวีรภัทร คันธะ , น.ส.รัชนก สุขประเสริฐ , นิตยา มีศรี
🟠ทั้งนี้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้ชู 5 นโยบายฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวสมุทรปราการ เพราะสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวของประชากรสูงถึง 366,642 บาท/คน/ปี หรือเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ และเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในจังหวัดทั้งหมดสูงถึง 40.85% เรียกว่า เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งแรกๆ ของประเทศไทย แต่ประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการกลับประสบปัญหาคุณภาพชีวิตในหลายด้าน ดังจะเห็นได้จากการจัดอันดับของดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index หรือ SPI) โดยสถาบันศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งพบสมุทรปราการกลับมีดัชนีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีในหลายด้าน อาทิสมุทรปราการ เป็นอันดับสุดท้าย หรืออันดับที่ 76 (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ในดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมของ SPI
• เป็นอันดับที่ 74 หรือเป็นอันดับที่ 3 จากท้าย ในดัชนีคุณภาพที่อยู่อาศัย
• เป็นอันดับที่ 72 หรือเป็นอันดับที่ 5 จากท้าย ในดัชนีสิทธิส่วนบุคคล
• เป็นอันดับที่ 54 ในดัชนีด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล
• เป็นอันดับที่ 45 ในดัชนีด้านโภชนาการและการดูแลสาธารณสุขพื้นฐาน
• เป็นอันดับที่ 27 ในดัชนีเสรีภาพและทางเลือกส่วนบุคคล จากการวิเคราะห์ของ Think Forward Center และพรรคก้าวไกล สาขาสมุทรปราการ พบว่า ปัญหาสำคัญ 5 ด้านที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชาวสมุทรปราการอย่างรุนแรง และจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้แก่
การป้องกัน ลด และแก้ไข ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และอุบัติภัยสารเคมี ที่ทำให้ชาวสมุทรปราการต้องเผชิญกับภัยพิบัติสารเคมีครั้งใหญ่ๆ หายครั้งในช่วงเวลา 5 ปีทีผ่านมา และเผชิญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ที่สุดในประเทศ
, การลดความแออัดของระบบบริการสุขภาพ และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ทั้งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม และการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกผ่านระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ , การรักษาและพัฒนาฐานอาชีพที่สำคัญของชาวสมุทรปราการ ทั้งฐานอาชีพดั้งเดิม เช่น ประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสัตว์น้ำ การทำหัตถศิลป์ และการพัฒนาทักษะและฐานอาชีพใหม่ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การแปรรูปสินค้าเกษตร การดูแลสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ วิทยากรการคำนวณ (หรือ coding) หรือการพัฒนาหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น , การพัฒนาระบบสวัสดิการถ้วนหน้า ทั้งสวัสดิการของเด็กและเยาวชน สวัสดิการของผู้สูงอายุ สวัสดิการของแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยราคาประหยัดที่มีคุณภาพและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ , การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น และการบริหารราชการโดยมิชอบและไม่มีประสิทธิภาพของภาครัฐ ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งความไร้ประสิทธิภาพดังกล่าว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและศักยภาพการพัฒนาของชาวสมุทรปราการ รวมถึง การใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเมืองข่มขู่คุกคามประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และต้องการต่อสู้การบริหารราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นธรรม
🟠 แนวนโยบายหลักในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวสมุทรปราการ ประกอบด้วย

1.นโยบายการป้องกัน ลด และแก้ไข ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และอุบัติภัยสารเคมี ซึ่งประกอบด้วยแนวนโยบายดังต่อไปนี้
ยกระดับความพร้อมรับมือกับอุบัติภัยสารเคมี ทั้งในแง่ของเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำงานของหน่วยเผชิญเหตุ ขีดความสามารถในการรับมือ การดูแลสวัสดิภาพและสวัสดิการของหน่วยเผชิญเหตุ และการปรับปรุงความพร้อมของหน่วยบัญชาการเหตุการณ์ และหน่วยอำนวยความสะดวก ตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทำงานของผู้ตรวจสอบเอกชน ตาม พ.ร.บ.โรงงานที่มีการปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ (ก) ดูแลความปลอดภัยและการปล่อยมลพิษของโรงงานอย่างเคร่งครัด (ข) เปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมให้สาธารณชนรับทราบ และ (ค) พัฒนาระบบความพร้อมรับผิดของผู้ตรวจสอบเอกชน ของโรงงาน และของกรมโรงอุตสาหกรรม
จัดทำ/ทบทวนแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ ในเขตควบคุมมลพิษสมุทรปราการ เพื่อให้มีแนวทางในการ “ลด” ปริมาณมลพิษและสารเคมีอันตรายในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการลงทั้งระบบอย่างจริงจัง ผลักดันร่างพระราชบัญญัติการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register หรือ PRTR) เพื่อสร้างความโปร่งใส และการเข้าถึงในข้อมูล เกี่ยวกับชนิด ปริมาณ และสถานที่ ในการใช้ การเก็บรักษา การปล่อย และการกำจัดสารเคมีอันตรายทั้งหลายในจังหวัดสมุทรปราการ ทบทวนแนวทางการวางผังเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรักษาพื้นที่ปลอดภัยของจังหวัดสมุทรปราการเอาไว้ เพิ่มแนวกันชนหรือแนวป้องกันระหว่างพื้นที่เสี่ยงภัยกับชุมชน รวมถึงการหาแนวทางที่จะย้ายแหล่งกำเนิดความเสี่ยงอุบัติภัยสารเคมีออกจากพื้นที่ชุมชน

2.นโยบายการลดความแออัดของระบบบริการสุขภาพ และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้เพียงพอกับความต้องการของชาวสมุทรปราการ ทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ และทั้งในเชิงรับ (การรักษาโรคและอาการต่างๆ) และในเชิงรุก (การสร้างเสริมสุขภาพ) ได้แก่จัดสรรทรัพยากรและลงทุนในระบบบริการสุขภาพในจังหวัดสมุทรปราการ ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันมากขึ้น เพื่อลดการกระจุกตัวของการเข้ารับ/การให้บริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการ และกระจายขีดความสามารถในการให้บริการไปยังทุกพื้นที่ของสมุทรปราการมากขึ้น ,การลดความแตกต่างหรือความเหลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์ในระบบประกัน/บริการสุขภาพทั้ง 3 ระบบ (กล่าวคือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ)
• พัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบดิจิทัล ทั้งในรูปแบบของการแพทย์ทางไกล (หรือ Tele-medicine) ระบบแพลตฟอร์มและ/หรือสายด่วนแบบดิจิทัล เพื่อเป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่าย และเชื่อถือได้ และลดความแออัดของระบบบริการสุขภาพ
• การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิให้สามารถให้บริการพื้นฐานที่ดีและเชื่อถือได้ โดยปรับประยุกต์รูปแบบการให้บริการที่ทันสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงานในจังหวัดสมุทรปราการมากขึ้น
• พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานบริการสาธารณสุข ในการตรวจสอบดูแลผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากมลพิษและอุบัติภัยสารเคมี รวมถึงการยกระดับศักยภาพของงานอาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ให้เพียงพอกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ด้วย
.
3.นโยบายการรักษาและพัฒนาฐานอาชีพที่สำคัญของชาวสมุทรปราการ การรักษาและและพัฒนาฐานอาชีพที่สำคัญของชาวสมุทรปราการ จะต้องประกอบด้วย

• ปรับปรุงและดูแลสภาพแวดล้อมในการประกอบอาชีพดั้งเดิมของจังหวัดสมุทรปราการ เช่น ประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสัตว์น้ำ การทำหัตถศิลป์ การท่องเที่ยวชุมชน โดยเฉพาะการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ การขุดลอกเส้นทางการคมนาคมทางน้ำ การวางผังเมือง เป็นต้น
• พัฒนาสิทธิและระบบการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพใหม่ๆ สำหรับชาวสมุทรปราการ โดยเฉพาะทักษะด้านการออกแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การแปรรูปสินค้าเกษตร การดูแลสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ วิทยากรการคำนวณ (หรือ coding) หรือการพัฒนาหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
• พัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ของสมุทรปราการ สร้างตลาดท้องถิ่นภายในจังหวัดสมุทรปราการ เชื่อมโยงผู้ผลิตโดยเฉพาะชาวประมงและเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกับผู้บริโภค รวมถึงสถานศึกษา
• เชื่อมโยงและต่อยอดการพัฒนาทักษะอาชีพต่างๆ เข้ากับระบบการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาแบบสหกิจศึกษา และ/หรือการจัดการศึกษาในสถานประกอบการ

4.นโยบายการพัฒนาระบบสวัสดิการถ้วนหน้า เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิตสำหรับทุกครอบครัว ตามช่วงอายุ ตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนี้

• เด็กเล็ก 0-6 ปี เงินอุดหนุนเด็กเล็ก 1,200 บาท/เดือน
• เด็กโตและเยาวชน 7-22 ปี เงินสนับสนุน 800 บาท/เดือน
• การเรียนฟรีอย่างแท้จริง ตั้งแต่ในระดับปฐมวัยจนถึงระดับอาชีวศึกษา และระบบการสนับสนุนให้นักเรียนที่มีความตั้งใจสามารถเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาได้อย่างถ้วนหน้า
• ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป บำนาญผู้สูงอายุ 3,000 บาท/เดือน
• ผู้พิการ เบี้ยยังชีพผู้พิการ 3,000 บาท/เดือน
• การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงอย่างถ้วนหน้า ภายใต้กรองงบประมาณ 9,000 บาท/เดือน/ผู้ป่วยหนึ่งคน
• พัฒนาระบบประกันสังคม สำหรับแรงงานแพลตฟอร์มและแรงงานสร้างสรรค์ที่ไม่มีนายจ้างประจำ โดยเป็นระบบประกันสังคมที่สะดวก เป็นธรรม และสอดคล้องกับระบบการจ้างงานนั้นๆ
• สนับสนุนงบประมาณสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัย/ห้องพัก ที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในราคาประหยัด โดยการเสนอส่วนลดดอกเบี้ยผ่อนบ้าน และงบประมาณจูงใจสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ในการสร้างที่อยู่อาศัย/ห้องพักราคาประหยัด
.
5.นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และการลดอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองที่ข่มขู่คุกคามประชาชน โดยกระบวนการต่างๆ ดังต่อไปนี้

• สนับสนุนให้มีการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลการใช้งบประมาณในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่ไม่มีความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ และการใช้อำนาจรัฐในการออกกฎกติกาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เช่น ผังเมือง การอนุญาตและต่อใบอนุญาตโรงงาน รวมถึงเปิดเผยผลการสอบสวนอุบัติภัยสารเคมีที่ผ่านมาในจังหวัดสมุทรปราการ เช่น ท่อก๊าซระเบิดในปี พ.ศ. 2563 เป็นต้น
• พัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะแบบอัตโนมัติ หรือ Open Government เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ร้องเรียน และตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ได้โดยสะดวก และสามารถเผยแพร่ผลการตรวจสอบให้กับสาธารณชนทราบโดยง่าย และน่าเชื่อถือ
• สนับสนุนการกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม โดยไม่ต้องไปอิงแอบกับอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งมักเป็นต้นเหตุของการทุจริตคอร์รัปชัน
• คุ้มครองผู้ร้องเรียน พยาน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับอิทธิพลกับความไม่เป็นธรรมในโครงการต่างๆ
• ป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติดอย่างจริงจัง และป้องกันการกระทำความผิดกฎหมายต่างๆ เช่น บ่อ

Please follow and like us:
0 Comments

Boss

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram