การเมือง

รมช เกษตร ฯ – ส.ส.ไพลิน ลงพื้นที่เตรียมแก้ปัญหาชาวประมงสมุทรปราการ

17102562-4

 

รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส.ส.สมุทรปราการ เขต 7 ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาประมงชายฝั่งและประมงพาณิชย์ หลังได้รับร้องเรียนจากชาวบ้าน เตรียมหาแนวทางแก้ไขปัญหาปากท้องการทำอาชีพประมงอย่างยั่งยืน –นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และคณะ, ส.ส.ไพลิน เทียนสุวรรณ สส.สมุทรปราการ เขต 7 ลงพื้นที่ สำนักงานสะพานปลาสมุทรปราการ หาแนวทางและช่วยแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของชาวประมงพื้นบ้านเขตพระสมุทรเจดีย์ และประมงพาณิชย์ ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนการทำประมงในพื้นที่เขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการ

–ด้าน ส.ส.ไพริน เผยว่าสาระสำคัญได้รับเรื่องร้องเรียนการทำมาหากินของประมงพื้นบ้านในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ และทางสมาคมการประมงสมุทรปราการ ได้ทำเรื่องร้องเรียนมาก่อนหน้านี้ พร้อมจัดให้มีการประชุมรับฟังปัญการทำประมงพื้นบ้านและการทำประมงพาณิชย์ ได้มีข้อมสรุปถึงข้อเสนอประเด็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่จำเป็นเร่งด่วน ปัญหาที่1 จากประกาศกรมประมง เรื่องกำหนดมาตรฐานสมรรถณะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบการติดตามเรือประมง(รุ่นที่ 2)เพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ.2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 นั้น เรือประมงทุกลำจะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ติดตามเรือ(vms)จากรุ่นที่ 1 เป็นรุ่นที่ 2 เมื่ออุปกรณ์ vms เสียไม่สามารถซ่อมได้ซึ่งรุ่น 1 ราคาอยู่ระหว่าง 22,000-25,000 บาท ส่วนรุ่นที่ 2 ราคาอยู่ระหว่าง 42,000-47,000 บาท ส่วนค่าบริการรายเดือน รุ่นที่ 1คือ 10,000-12,000 บาท ต่อปี และ รุ่นที่ 2 อยู่ที่ 12,000-15,000 บาท ต่อปี

ข้อเสนอในการแก้ไข ในประกาศของกรมประมง กรณีอุปกรณ์ vms เสีย หรือซ่อมไม่ได้ ซึ่งเจ้าของเรือจะต้องซื้ออุปกรณืใหม่นั้น ให้มีทางเลือก โดยติดตั้งอุปกรณ์ vms เป็นรุ่น 1 หรือ รุ่น 2 ได้โดยสมัครใจ ปัญหาที่ 2 ปัญหาสัญญาณ vms ขาดหายเกิน 4 ชั่วโมง เมื่อเจ้าหน้าที่แจ้งให้เจ้าของเรือทราบแล้วนั้น จะต้องนำเรือกลับเข้าฝั่งทันที่ ซึ่งเรือประมงหากออกทำการประมงห่างชายฝั่งมาก จะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ กว่าจะติดต่อเรือได้ก็เกิน 4 ชั่วโมง บางกรณีสัญญาณ vms ขาดหายช่วงดึก ซึ่งเป็นเวลานอนพักผ่อนก็ไม่สามารถติดเรือได้ ข้อเสนอในการแก้ไข หาก vms สัญญาณขาดหายเกิน 12 ชั่วโมง ให้นำเรือกลับเข้าฝั่ง ปัญหาที่ 3 ความล่าช้าการประกาศเขตพื้นที่เขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการ ด้วย พรก.ประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 ให้อำนาจและคณะกรรมการประมง ประจำจังหวัด มีอำนาจกำหนดเขตทะเลชายฝั่งไม่น้อยกว่า 1.5 ไมล์แต่ไม่เกิน 12 ไมลทะเล

เดิมกำหนดคือ 3 ไมล์ทะเล การกำหนดโดยวัดจากระดับน้ำทะเล 0 เมตรออกไป ซึ่งสมุทรปราการห่างจากชายฝั่งประมาณ 4 ไมล์ทะเล ส่วนจังหวัดอื่นระดับน้ำ 0 เมตร กำหนดให้อยู่ชายฝั่งเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการ หากวัดจากชายฝั่ง ออกไปคือ 7 ไมล์ทะเล ทำให้เรือประมงพาณิชย์ขนาดเล็ก 10-20 ตันกรอส ต้องทำประมงออกจากชายฝั่งมากกว่าจังหวัดอื่น ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการประมง ประจำจังหวัดหลายครั้ง และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียกับพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ประกาศเดิมเป็นพื้นที่โค้งเว้า ซึ่งกำหนดใหม่โดยคณะกรรมการฯเป็นเส้นตรง เริ่มจาก 1.5 ไมล์ ออกไป ข้อเสนอในการแก้ไข ให้เร่งรัดประกาศเขตทะเลชายฝั่งของสมุทรปราการ เพื่อลดปัญหาการเข้าเขตทะเลชายฝั่ง เนื่องจากกำหนดเขตใหม่จะกำหนดเป็นเส้นตรง จะทำให้ชาวประมงเข้าใจชัดเจนมากขึ้นเนื่องจากค่าปรับสูงถึง 30 ล้านบาท ปัญหาที่ 4 การประกอบอาชีพของประมงพื้นบ้านกว่า 1,000 ครอบครัว ติดข้อกฎหมายใน พรก.ประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ศ.2560 ในมาตรา 67(4)

ซึ่งให้เรือประมงพื้นบ้านทำได้ อาศัยความในวรรค 4 ให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศผ่อนผันและอนุญาต ตามเงื่อนไข ส่วนความในวรรค 3 ให้อำนาจอธิบดีประกาศ รูปแบบ เครื่องมือ ขนาดเรือ วิธีการ พื้นที่ทำประมง ซึ่งพื้นที่สมุทรปราการไม่เหมาะกับเครื่องมืออื่นใด แม้กรมประมงจะให้เรือรุนเคยได้ทั้งปี แต่ข้อเท็จจริงมีเคยให้รุนเพียงปีละ 2-3 เดือน เท่านั้น หลังจากนั้น ปรับเปลี่ยนใช้เครื่องมืออื่นเช่น ไดหมึก ลอบปลา ลอบหมึก ลอบปู อวนปู ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากพื้นที่เป็นดินโคลน ข้อเสนอในการแก้ไข ให้รัฐมนตรีประกาศผ่อนผันอนุญาตให้ทำ ตามความในมาตรา 67 วรรค 4 และ ให้อธิบดีประกาศรูปแบบเครื่องมือ พื้นที่ วิธีการทำประมง ตามความในวรรค 3 เพื่อเป็นการผ่อนคลายให้กับเรือประมงพื้นบ้านในสมุทรปราการ ปัญหาที่ 5 จากมาตรา 81(5)การกลับเข้าท่าเทียบท่าเรือของเรือประมงพาณิชย์ ซึ่งอธิบดีประกาศกำหนดคือไม่เกิน 30 วัน

ซึ่งปัจจุบันมีเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่จดทะเบียนกับกรมประมง การขนถ่ายสัตว์น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำมีคุณภาพอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ข้อเสนอในการแก้ไข อาศัยอำนาจอธิบดีประกาศหลักเกณฑ์การกลับเข้าท่าเทียบเรือเป็น 60 วันเนื่องจากเรือประมงพาณิชย์ออกไปทำการประมงห่างจากชายฝั่ง100-150 ไมล์ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ทำประมงบนพื้นฐานการคุ้มครองแรงงาน รวมถึงความยั่งยืนของทรัพยากรในทะเล

–อย่างไรก็ดี นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะนำปัญหาจากการลงพื้นที่ด้วยตัวเอง นำไปเสนอและเร่งหาทางออกให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์และประมงพาณิชย์ จากสมาคมประมงสมุทรปราการ ที่ยืนหนังสือร้องทุกข์มา ยืนยันจะช่วยแก้ปัญหาแากท้องประชาชนชาวประมง ทันที

ผู้สื่อข่าวRALANEWS สมุทรปราการ

 

Please follow and like us:
0 Comments

mongko

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

RSS
Follow by Email
YouTube
LinkedIn
Share
Instagram